Breaking News
Home / คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี (กศจ.อุบลราชธานี)

คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี (กศจ.อุบลราชธานี)

คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี (กศจ.อุบลราชธานี)

1. นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ประธานกรรมการ
2. นายวุฒิพล ทับธานี รองศึกษาธิการภาค รักษาการในตำแหน่งศึกษาธิการภาค
สำนักงานศึกษาธิการภาค 14
รองประธานกรรมการ
3. นายวรวิทย์ โสภาพันธ์ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรรมการ
4. ผศ.ดร.ชุตินันท์ ประสิทธิ์ภูริปรีชา ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรรมการ
5. นายสมานจิต ภิรมย์รื่น ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรรมการ
6. ร.ต.ต.วีระวัฒน์ พิณโท ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรรมการ
7. นายทัศน์พล เรืองศิริ ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กรรมการ
8. นายธาตรี พิบูลมณฑา ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรรมการ
9. นายนิรุทธ์ คำแก้ว ผู้แทนองค์กรภาคเอกชน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
10. นายนพรัตน์ ทองแสง ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
11. นายนพภา พันธุ์เพ็ง ผู้แทนภาคประชาชน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
12. นายสงวน บุตรดี ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
13. นางทิยานันท์ พละไกร ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
14. นายอภิชาติ ทองแจ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
15. นายเสรี ตุ้มอ่อน ศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี กรรมการและเลขานุการ
16. นายสุพงษ์ โอวาท รองศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี ผู้ช่วยเลขานุการ
17. นางบัวสอน กลิ่นลั่นทม ผู้อำนวยการกลุ่มอำนวยการ ผู้ช่วยเลขานุการ
18. นางจิราพร วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล ผู้ช่วยเลขานุการ

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เรียกโดยย่อว่า กศจ.

1. กําหนดยุทธศาสตร์ แนวทางการจัดการศึกษา และการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท ประสานและส่งเสริมการบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบ
2. พิจารณาและให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาการศึกษาของจังหวัด
3. พิจารณาและให้ความเห็นชอบกรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานและตัวชี้วัดในการดําเนินงานในลักษณะตัวชี้วัดร่วมของส่วนราชการหรือหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัด
4. เสนอความเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคเพื่อใช้อํานาจ
5. กํากับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด
6. วางแผนการจัดการศึกษาในจังหวัดและพิจารณาเสนอแนะการจัดสรรงบประมาณให้แก่สถานศึกษา
7. เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคเพื่อแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทํางานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของ กศจ. ได้ตามความจําเป็น
8. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกําหนด หรือตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคมอบหมาย


ให้มีคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เรียกโดยย่อว่า อกศจ.  เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจาก กศจ.
ประกอบด้วย
1. บุคคลซึ่ง กศจ. แต่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็น กศจ. เป็นประธานอนุกรรมการ
2. บุคคลซึ่ง กศจ. แต่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็น กศจ. จํานวนสองคน เป็นอนุกรรมการ
3. ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้อํานวยการสถานศึกษา ซึ่ง กศจ. แต่งตั้ง
4. ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่ง กศจ. แต่งตั้ง จํานวนไม่เกินสามคน เป็นอนุกรรมการ
5. ศึกษาธิการจังหวัด เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ